Hematocrit ตอน 2
การตรวจหาค่าความเข้มข้นของเลือดเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจหาความสมบูรณ์ของเลือด และ ความผิดปกติที่พบซึ่งจะสามารถพบได้ทั้งปริมาณที่มากเกินไป และ น้อยเกินไปได้ ค่าความเข้มข้นของเลือดไม่ได้บอกถึงสาเหตุของโรค แต่บอกเพียงว่ามีความผิดปกติของปริมาณเม็ดเลือดแดง
การตรวจหาค่าความเข้มข้นของเลือด เราจะใช้เครื่องที่เรียกว่า เครื่องปั่นฮีมาโตคริต หรือ Hematocrit Centrifuge โดยจะทำการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วใส่ไปในหลอดแก้ว แล้วนำไปปั่นหาค่าความเข้มข้นของเลือด ด้วยเครื่องปั่นฮีมาโตคริต แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางจะทำให้เม็ดเลือดแดงไปกองรวมตัวกันที่ก้นหลอดแก้ว ซึ่งจะได้เลือด โดยแบ่งเป็นสองชั้น คือ
- ชั้นน้ำเหลือง
- ชั้นเม็ดเลือดแดง
เมื่อนำมาเปรียบเทียบปริมาตรเม็ดเลือดแดงเทียบกับเลือดจะได้ค่าความเข้มข้นของเลือด
ตารางแสดงค่า HCT
Hematocrit (HCT) |
|
ผู้ชาย: |
42%–52% or 0.42–0.52 volume fraction |
ผู้หญิง: |
36%–48% or 0.36–0.48 volume fraction |
เด็ก: |
29%–59% or 0.29–0.59 volume fraction |
ทารก: |
44%–64% or 0.44–0.64 volume fraction |
ค่าวิกฤติ (ยกเว้นทารก) Hct < 15% หรือ > 60%
ความผิดปกติที่พบได้ ……….ในกรณี
- ในกรณีตรวจพบความเข้มข้นของเลือดน้อยเกินไป สาเหตุอาจเกิดจาก
- ร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยไปทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
- เกิดจากโรค เช่น โรคตับแข็ง (cirrhosis) โรค Nephrotic syndrome เกิดการเจือจางเม็ดเลือดแดงทำให้ค่า Hematocrit ตรวจพบค่าต่ำลง
- เกิดการเสียเลือดค่อนข้างมากจากเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น ริดสีดวงทวาร มีพยาธิปากขอในลำไส้ เลือดออกทางเดินอาหาร หรือ ตกเลือด
- การขาดวิตามิน เช่น วิตามิน บี 12 หรือธาตุเหล็ก ที่เกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงได้ในขนาดที่เล็กลง หรือได้จำนวนน้อย
- เป็นโรคเกี่ยวกับ กระดูก หรือ มีความผิดปกติของไขกระดูก
- อาจจะเกิดจากการตั้งครรภ์
- โรคมะเร็งเม็ดเลือด
- การกินยาบางชนิดก็อาจมีผลให้ค่า Hematocrit ต่ำลงได้ เช่น ยาปฏิชีวนะ chloramphenicol หรือ penicillin
2. ในกรณีตรวจพบความเข้มข้นของเลือดมากเกินไป สาเหตุอาจเกิดจาก
- สภาวะการสร้างเม็ดเลือดแดงมาก
- เป็นโรคหัวใจมาแต่กำเนิด ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีจำนวนมากขึ้นเพื่อส่งออกซิเจนให้แก่กล้ามเนื้อหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเพียง
- โรคเม็ดเลือดแดงมากเกิน เป็นโรคที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงมาก
- เกิดจากการขาดน้ำ อย่างรุนแรง เช่น เกิดอาการถ่ายท้องอย่างรุนแรง ถูกไฟลวกอย่างรุนแรง ฯลฯ
- โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มเพื่อชดเชยภาวะขาดออกซิเจนจากโรคปอดเรื้อรัง
- ขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ใหญ่กว่าปกติ