“โรคจากอาคาร” (Building Related Illness; BRI) ภัยสุขภาพที่ถูกมองข้าม

“โรคจากอาคาร” (Building Related Illness; BRI) ภัยสุขภาพที่ถูกมองข้าม

            คุณเคยมีอาการแบบนี้หรือไม่ ?

  • วิงเวียนศีรษะ  มึนงง 
  • ปวดศีรษะ
  • ระคายเคืองตา จมูก และลำคอ 
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า
  • คลื่นไส้ คล้ายจะอาเจียน
  •  ง่วงเหงาหาวนอน ขาดสมาธิ
  • คันตามผิวหนัง

อาการข้างต้นนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอาการร่วมกันเมื่ออยู่ในห้อง หรือ อาคาร และอาการต่าง ๆ เริ่มหายไปเมื่อออกจากห้อง หรือ อาคารนั้น แสดงว่าคุณอาจกำลังเผชิญกับ “กลุ่มอาการป่วยจากอาคาร” (Sick Building Syndrome;SBS) หรือ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาทิเช่น เป็นไข้  ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ไอ แน่นหน้าอก และอาการเหล่านั้นยังคงอยู่แม้ว่าคุณจะออกจากอาคารไปแล้วก็ตาม  อาจบ่งชี้ว่าคุณกำลังทุกข์ทรมานด้วย “โรคจากอาคาร” (Building Related Illness; BRI) ซึ่งคนที่มีโรคประจำตัว หรือ เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว อาการแพ้จะกำเริบมากขึ้น

สาเหตุของโรคจากอาคาร

       โรคและกลุ่มอาการป่วยจากอาคาร เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในอาคาร โดยเป็นผลจากการสัมผัสกับสารพิษหรือสารเคมีอันตรายในอาคารบ้านเรือนหรือที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นอาคารเก่าหรืออาคารที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ ก็ได้   ปัจจัยหลักของกลุ่มอาการนี้เกิดจากการอาศัยอยู่ในช่วงเวลานาน ๆ ในอาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี เช่น ใช้ระบบทำความเย็นและระบบระบายอากาศหมุนเวียนเพื่อประหยัดไฟฟ้าอาคารดังกล่าวมักปิดมิดชิด ไม่เปิดหน้าต่าง อากาศไม่ถ่ายเท ทำให้ภายในอาคารอบอวลไปด้วยสารมลพิษในอากาศหลายชนิด ได้แก่ สารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds: VOCs) โดยเฉพาะฟอร์มาลดีไฮด์  ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของกาวที่มักใช้กับเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เช่น พาร์ทิเคิลบอร์ด ไม้อัด รวมถึงผ้าหุ้มเฟอร์นิเจอร์ พรม วัสดุฉนวน น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ตลอดจนสีทาบ้านที่ไม่ได้มาตรฐาน ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นก๊าซไม่มีสี มีกลิ่นฉุน ถ้ามีอยู่ในอากาศมากกว่า 0.1 ppm (ส่วนในล้านส่วนของอากาศ) อาจทำให้เกิดอาการแสบตา ระคายเคืองเยื่อจมูกและคอ คลื่นไส้ ไอ แน่นหน้าอก เป็นผื่นแพ้

            องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าสารนี้เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดมะเร็งในคนได้  ทั้งนี้มีการศึกษาพบว่า ร้อยละ 90 ของอาคารที่มีการตกแต่งห้องใหม่ ใช้เฟอร์นิเจอร์ใหม่มีปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์เกินมาตรฐาน หรือแม้แต่อาคารที่ใช้งานมานานแล้ว ฟอร์มาลดีไฮด์ก็ยังสามารถระเหยต่อเนื่องได้อีกนานหลายปี !!!
     

               นอกจากนี้ สารมลพิษที่พบได้ทั่วไปในอาคารที่เป็นสาเหตุของโรคจากอาคารยังประกอบไปด้วย

  • ฝุ่นละอองและควันพิษ 
  • เชื้อรา 
  •  เชื้อโรคและสารชีวภาพอื่น ๆ  เช่น แบคทีเรีย ไวรัส มูลนก ละอองเกสร ขนสัตว์
  • ไรฝุ่น มักอาศัยในที่ที่มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ พบมากตามที่นอน ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม พรม และผ้าม่าน
  • ยาฆ่าแมลง ยากำจัดปลวก หนู แมลงสาบที่ใช้ในอาคารบ้านเรือน
  • ก๊าซและสารระเหย เช่น ก๊าซหุงต้ม และเบนซิล (Benzene)
  • ฉนวนใยหิน ใยแก้ว ที่ใช้ทำวัสดุกันความร้อน ซึ่งอาจมีฝุ่นละอองก่อให้เกิดมะเร็งปอดและปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มาจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องถ่ายเอกสาร คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ

แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร ?

                 โรคจากอาคารสามารถป้องกันได้ตั้งแต่การวางแผนก่อสร้างอาคารที่ได้มาตรฐาน โปร่ง ระบายอากาศได้ดี มีการออกแบบกั้นบริเวณที่มีการฟุ้งกระจายของสารระเหยแยกจากห้องทำงานของพนักงาน เช่น ห้องถ่ายเอกสาร ห้องปริ้นท์งาน ห้องเก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด  หรือ ควรจัดให้มีระบบระบายอากาศที่ดี เช่น ติดตั้งช่องลม หรือพัดลมดูดอากาศเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกโดยเฉพาะบริเวณที่มีสารเคมีระเหยออกมาได้ เช่น ห้องน้ำ ห้องถ่ายเอกสาร หรือ ห้องที่มีปริ๊นเตอร์ และภายในห้องมีการใช้เครื่องฟอกอากาศ


#เครื่องฟอกอากาศ ,การกรองอากาศ ,อากาศ ,กรองอากาศ,เครื่องฟอกอากาศสำนักงาน,เครื่องฟอกอากาศโรงงาน,เครื่องฟอกอากาศโรงพยาบาล,กรองอากาศบริสุทธิ์,ตักอากาศ,ไทเทเนียมไดออกไซด์,ฆ่าเชื้อด้วย UV