เราสามารถบำรุงรักษาเครื่องปั่นเหวี่ยงและทำการสอบเทียบได้อย่างไร? การบำรุงรักษา

เราสามารถบำรุงรักษาเครื่องปั่นเหวี่ยงและทำการสอบเทียบได้อย่างไร?

การบำรุงรักษา

1. ตรวจสภาพความสมบูรณ์ของยางรองฝาปิดเครื่องปั่นเหวี่ยง หากพบรอยฉีกขาดควรเปลี่ยนใหม่
2. ตรวจยางรองก้นหลอดในเบ้าบรรจุหลอดทดลอง ดูความครบถ้วนไม่มีรอยฉีกขาดและเป็นชนิดเดียวกัน
3. ตรวจ Rotor อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง มีสกรูยึดแน่น ไม่มีรอยร้าว สึกกร่อน
4. เครื่องหมุนเหวี่ยงที่สามารถถอดหัว Rotor ได้ ก่อนนำมาติดตั้งใช้งานให้ตรวจรอยร้าว ไม่ให้มีเศษเหล็ก
หรือสิ่งสกปรกติดอยู่
5. การติดตั้งหัว rotor ควรใช้ประแจประจำเครื่อง หรือประแจชนิดที่เหมาะสม เพื่อยึดน็อตพอให้ตึงมือ
เท่านั้น
6. เครื่องมือที่เป็น swing rotor ควรทาสารหล่อลื่นที่บริเวณข้อต่อด้วย
7. การใส่หลอดตัวอย่างเพื่อปั่นตกตะกอนควรใส่ให้สมดุลกัน
8. สวมถุงมือยางเพื่อทำความสะอาดใน Chamber, Holder tube และที่หัว Rotor โดยเช็ดด้วย 70% Alcohol
ให้ทั่วแล้วปล่อยให้แห้งเอง
9. เมื่อพบว่ามีเศษแก้วหรือสิ่งสกปรกติดเชื้ออยู่ในเบ้ารองหลอด ให้นำไปแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดที่ไม่มีฤทธิ์
กัดกร่อนโลหะเป็นเวลา 30 นาที แล้วล้างทำความสะอาดและทำให้แห้งสนิทก่อนนำไปใช้งาน
10. ควรมีการบันทึกเหตุการณ์ผิดปกติ เช่น กระแสไฟตก หรือดับขณะใช้งานทุกครั้ง เพื่อให้เป็นข้อมูล
สำหรับช่างเทคนิค เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข
11. ตรวจสอบสภาพแปรงถ่าน (carbon brushes) ทุก 6 เดือน สำหรับมอเตอร์ของเครื่องปั่นเหวี่ยงชนิดที่ใช้
แปรงถ่าน ถ้าสกปรกให้ทำความสะอาด เมื่อพบว่าแปรงถ่านสั้นลงน้อยกว่า 5 มม. หรือสั้นกว่า
ข้อกำหนดตามคู่มือของเครื่องให้เปลี่ยนแปลงถ่านใหม่ซึ่งอาจต้องใช้ช่างเทคนิค

การสอบเทียบ
เครื่องปั่นเหวี่ยงมีกระบวนการสอบเทียบในส่วนของความเร็วรอบและเวลาการทำงานของเครื่อง อุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบเทียบคือ Tachometer ที่ได้รับการสอบเทียบมาตรฐานแล้ว ขั้นตอนการสอบเทียบมีดังนี้
1. ติดแถบสะท้อนแสงขนาดกว้างและยาว ประมาณ 1 ซม. บนพื้นผิว rotor ถ้า Rotor เป็นสแตนเลสหรืออโลหะที่สะท้อนแสงให้ปิดส่วนสะท้อนแสงด้วยกระดาษกาวทึบแสงก่อนติดแถบสะท้อนแสง
2. เปิดสวิตซ์และตั้งความเร็วรอบของเครื่องปั่นเหวี่ยงที่ต้องการจะวัด
3. หมุนสวิตซ์เครื่อง Tachometer ให้ปลายลูกศรไปที่ RPM ส่องแสงไปให้ตั้งฉากไปยังตำแหน่งแถบสะท้อนแสง ระยะห่างในช่วง 5-20 ซม. ประมาณ 60 วินาที เพื่อวัดความเร็วรอบของ Rotor ในจุดที่ใช้งานประจำทำซ้ำจุดละ 3 ครั้ง
4. บันทึกผลและคำนวณค่าเฉลี่ยของความเร็วรอบที่วัดได้ เปรียบเทียบกับความเร็วรอบของเครื่อง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
· http://main.cwlab.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=11&limitstart=1
· http://main.cwlab.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=8&Itemid=11&limitstart=2